ภาษี

รับทำบัญชี.COM | ภาษีคืออะไร มีกี่ประเภทมีความสําคัญอย่างไร?

Click to rate this post!
[Total: 400 Average: 5]

ภาษี

ภาษี คือ

ภาษี ทำไมต้องจัดเก็บภาษี

รัฐบาลนั้นมีหน้าที่ต้องอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนโดยให้บริการสาธารณะ เช่น สร้างโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคต่างๆ เนื่องจากสินค้าเหล่านี้ไม่มีใครกล้าลงทุน ทำแล้วไม่คุ้ม รัฐจึงต้องเป็นผู้ลงมือทำในการทำโครงการเหล่านี้ และต้องใช้เงินจำนวนมาก  เช่น โรงพยาบาลรัฐ โรงเรียน การจราจร เงินเดือนข้าราชการ เป็นต้น

คำถาม คือ รัฐบาลจะไปเอาเงินมาจากที่ไหน คำตอบคือ จากการจัดเก็บจากประชาชน หรือที่เราเรียกกันว่า “ ภาษี ” นั้นเอง  ซึ่งภาษีก็เปรียบเสมือนค่าส่วนกลางที่ประชาชนทุกคนต้องช่วยกันจ่ายเพื่อรับบริการสาธารณะและบำรุงรักษาไว้

ภาษี แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

ภาษีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ภาษีทางตรง
ภาษีทางอ้อม

ภาษี คือ อะไร สรุป

ภาษี คือ เงินหรือทรัพย์สินที่รัฐหรือสถาบันที่ปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐเรียกเก็บจากราษฎร ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เพื่อนำมาใช้ในการบริหารประเทศให้เจริญก้าวหน้าทั้งทางเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม การประชาสงเคราะห์ การป้องกันประเทศและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ สร้างสาธารณูปโภค รวมไปถึงเงินเดือนของข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ผู้ทำหน้าที่บริการประชาชน และใช้จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ของสถานราชการต่าง ๆ เรียกได้ว่าการเรียกเก็บภาษีจากราษฎร เป็นเครื่องมือทางการคลังที่สำคัญในการบริหารประเทศ เพื่อให้รัฐสามารถดำเนินการตามหน้าที่ที่มีต่อประชาชน ในการดูแลความผาสุขของประชาชน และ รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

ภาษี อากร คือ

ภาษีอากร คือ เงินที่รัฐจัดเก็บจากบุคคล เพื่อนาไปใช้จ่ายในการบริหารประเทศเป็นรายได้ที่สาคัญ
ที่สุดของรัฐ ภาษีอากรที่รัฐจัดเก็บมีทั้งภาษีทางตรง และภาษีทางอ้อม แยกออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ภาษีเงินได้และภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีที่เก็บจากเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้นิติบุคคล ภาษี
การค้า และอากรแสตมป์
2. ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่เก็บจากสิ่งประดิษฐ์และผลิตขึ้นในประเทศ
3. ภาษีศุลากร เป็นภาษีที่เก็บจากสินค้าที่นาเข้าจากต่างประเทศ และส่งออกไปต่างประเทศ

ภาษีทางตรงภาษีทางอ้อม

ภาษีทางตรงภาษีทางอ้อม

ภาษี ทางตรง

ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บโดยตรงจากผู้ที่มีรายได้ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องรับภาระไว้เองทั้งหมด เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ตัวอย่างภาษีทางตรง  เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีที่เรามีหน้าที่จะเสียของเราเองเมื่อเรามีรายได้เอง จะให้คนอื่นเสียแทนไม่ได้ ต้องจ่ายเองเท่านั้น ไม่สามารถพลักภาระได้ เมื่อมีรายได้ทั้งปี จะต้องนำมาเสียภาษี โดย นำรายได้ทั้งปี หัก ค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อน เพื่อให้ได้กำไรสุทธิ และหัก ณ ที่จ่าย (ถ้ามี) แล้วนำไปคำนวนภาษี จากฐานภาษีรายได้ โดยใช้ อัตราก้าวหน้าในการคำนวนภาษี บุคคลธรรมดา เป็นต้น 

ภาษี ทางตรง มีอะไรบ้าง 
  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
  3. ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือน
  4. ภาษีบำรุงท้องที่
  5. ภาษีมรดก
  6. ภาษีทรัพย์สินต่าง ๆ

หมายเหตุ : โดยจะเรียกเก็บจากรายได้ หรือความมั่งคั่งของบุคคล หรือนิติบุคคลที่จัดเก็บ

ภาษี ทางอ้อม

ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บรวมไปกับการซื้อสินค้าหรือบริการผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีสามารถผลักภาระไปให้ผู้อื่นที่เกี่ยวข้องได้เช่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร 

ตัวอย่างภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่เกิดจากการดำเนินกิจการการซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภค โดยเจ้าของกิจการจะผลักภาระ ให้กับลูกค้า โดยการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าและบริการนั่นเอง เช่นการซื้อสินค้า 100 บาทแล้วบวกภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 บาท แล้วนำ 7 บาทที่บวกเพิ่มนำส่งกรมสรรพากร เป็นต้น

ภาษี ทางอ้อม มีอะไรบ้าง
  1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  2. ภาษีสรรพามิต
  3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
  4. ภาษีศุลกากร
  5. ภาษีทางการค้า
  6. ค่าธรรมเนียมอากรต่าง ๆ

หมายเหตุ : ที่จะเรียกเก็บจากรายจ่ายของบุคคล โดยมิได้พิจารณาฐานะความมั่งคั่งของบุคคล หรือนิติบุคคล นั้น

ภาษี ทางตรง และ ภาษี ทางอ้อม แตกต่าง กันอย่างไร
  1. ภาษีทางตรง เรียกเก็บจาก บุคคล มีหน้าที่ เสียเองเมื่อ บุคคลมีรายได้
  2. ภาษีทางอ้อม บวกเพิ่มหรือแฝงไปกับ สินค้าหรือบริการ

อัตราภาษี คือ

อัตราภาษีเป็นปัจจัยที่ใช้ในการคำนวณภาษี โดยกฎหมายจะกำหนดว่า หากได้เงินสุทธิเท่านี้ ให้คิดภาษีในอัตราเท่าไหร่
  1. อัตราก้าวหน้า: ยิ่งได้เงินมาก ก็ยิ่งจ่ายมาก
  2. อัตราคงที่: ทุกคนจ่ายอัตราเดียวกัน
  3. อัตราเหมาจ่าย: เหมาจ่ายไม่ต้องคิดเยอะ
  4. อัตราถดถอย: รายได้ยิ่งมาก ยิ่งจ่ายภาษีน้อยลง
อัตราภาษีมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
  1. อัตราภาษีบุคคลธรรมดา
  2. อัตราภาษีนิติบุคคล
  3. อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
  4. อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
  5. อัตราภาษีรถยนต์
  6. อัตราภาษีนำเข้า-ส่งออก (อากร)
  7. อัตราภาษีน้ำมัน

อัตราภาษีคือ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษี

ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายให้อำนาจกรมสรรพากรจัดเก็บภาษี 5 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ภาษีอากรแต่ละประเภทมีลักษณะและวิธีการจัดเก็บที่แตกต่างกัน 

เพิ่มเติม

ที่มา ของ คำว่าภาษี โดยคาดคะเนกันว่า น่าจะมาจาก คำในภาษาแต้จิ๋วว่า บู้ซี อันหมายถึง สำนักเจ้าพนักงาน ทำการเก็บผลประโยชน์แผ่นดินซึ่งตั้งขึ้นจากระบบเจ้าภาษีนายอากรนี่เอง คำว่าภาษีนี้ จะใช้กับอากรที่เกิดขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อให้ฟังดู แตกต่างจากอากรเก่าที่เคยจัดเก็บมาแต่โบราณ ดังที่ปรากฎในหนังสือพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอธิบายว่า

“ เกิดอากรขึ้นใหม่ๆ ได้เงินใช้ในราชการแผ่นดิน ดีกว่ากำไรค้าสำเภา อากรเหล่านั้นให้เรียกว่า ภาษี เพราะเป็นของที่เกิดขึ้นใหม่เหมือนหนึ่งเป็นกำไร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะให้เห็นว่าเงินเก่าเท่าใด เกิดขึ้นในรัชกาลของท่านเท่าใด การบังคับบัญชาอากรเก่าใหม่เหล่านี้ จึงได้แยกออกเป็นสองแผนก อากรเก่าอยู่ในพระคลังมหาสมบัติ อากรใหม่ซึ่งเรียกว่า ภาษี อยู่ในกรมพระคลังสินค้า คงเรียกชื่อว่าอากรอยู่ แต่หวยจีนก.ข. ซึ่งเป็นของเกิดใหม่แต่คล้ายกับอากรบ่อนเบี้ยของเดิม จึงคงเรียกว่าอากร แต่ก็คงยกมาไว้ในพวกภาษีเหมือนกัน ”

ที่มา https://www.rd.go.th/3458.html

สรุป 

ภาษียังเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาลช่วงไหนเศรษฐกิจไม่ดีหากรัฐบาลลดการเก็บภาษีประชาชนจะมีเงินในมือเยอะขึ้นเหมือนมีรายได้มากขึ้นทำให้ฉันจ่ายให้มากขึ้นเพื่อสะกิดรัฐบาลสามารถใช้ภาษีสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจของคนลดภาษีให้กับธุรกิจที่ต้องการส่งเสริมทำให้คนอยากลงทุนมากขึ้นหรือเก็บภาษีในสิ่งที่ไม่อยากให้คนซื้อเช่นสินค้าฟุ่มเฟือยสินค้านำเข้าสินค้าที่ไม่ดีต่อสุขภาพเพราะเมื่อมีราคาแพงขึ้นคนก็อยากจะซื้อน้อยลงนอกจากนั้นภาษียังช่วยกระจายรายได้สร้างความเท่าเทียมรถจะเก็บเงินคู่ที่มีมากเพื่อนำเงินไปทำสวัสดิการให้บริการกับผู้ที่มีรายได้น้อยอีกด้วย 

 
  • TAX (ภาษี) คือ สิ่งที่รัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชน เพื่อนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร โดยแบ่งเป็นภาษีทางตรง (ภาษีที่ไม่สามารถผลักภาระให้ผู้อื่นได้) และภาษีทางอ้อม (ภาษีที่สามารถผลักภาระให้ผู้อื่นได้)
  • VAT กรมสรรพากรให้นิยามของ VAT (Value Added Tax) หรือภาษีมูลค่าเพิ่มว่าเป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยจัดอยู่ในภาษีทางอ้อม

ลดหย่อนภาษี คืออะไร

ลดหย่อนภาษี คือ สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่งที่ช่วยทำให้เสียภาษีน้อยลงเมื่อ คำนวณภาษี หรืออาจช่วยให้ได้เงินคืนภาษีเพิ่มขึ้น.

ภาษีคือ
ภาษีคือ

ที่มา : ตรวจสอบการยื่นภาษี ,

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )